ในยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญในการใช้ชีวิตและมีผลกระทบกับคนจำนวนมาก ก็มีกลุ่มคนที่เห็นช่องว่างในการหาผลประโยชน์ต่างๆจากผู้อื่นเช่นเดียวกัน
และกลุ่มมิจฉาชีพที่สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก จนเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายนั้นคือ แก็งคอลเซ็นเตอร์
1.จำนวนเเละกลุ่มเป้าหมาย
จากผลสำรวจ สถิตปี 2564 ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1200 คน พบว่ามีจำนวนการโทรหลอกลวงมากถึง 6.4 ล้าน ครั้ง และ มีประชากรกว่า 21% ที่เคยพบกับแก็งคอลเซ็นเตอร์ด้วยตัวเอง
จากข้อมูลจะเห็นจะได้ว่าแก็งคอลเซ็นเตอร์นั้นมีจำนวนมากจนน่าตกใจ
ข้อมูลการสำรวจกลุ่มเป้าหมายของมิจฉาชีพ อายุระหว่าง 17-77 ปี จำนวน 5,798 คน จาก 20 จังหวัดทั่วประเทศโดยสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พบว่ากลุ่มเป้าหมายของบรรดามิจฉาชีพที่ตั้งใจเข้ามาหลอก และหลอกได้สำเร็จมากที่สุด
คือ กลุ่มเจเนอเรชัน (Generation) Y และ Z ที่สำรวจพบว่าเคยโดนหลอกกว่า 57 เปอร์เซ็นต์ เพราะใช้โซเชียลมีเดียมากกว่าเจเนอเรชันอื่นๆ
โดยกลุ่ม Gen Z ถูกหลอกสำเร็จ 52 เปอร์เซ็นต์ เสียเงิน ทรัพย์สินต่อคนประมาณ 1,278 บาท
ส่วน Gen Y ถูกหลอกสำเร็จ 44.9 เปอร์เซ็นต์ เสียเงิน ทรัพย์สินต่อคนประมาณ 2,331 บาท
Gen X เคยถูกหลอก 46.9 เปอร์เซ็นต์ ถูกหลอกสำเร็จ 30.5 เปอร์เซ็นต์ เสียเงิน ทรัพย์สินต่อคนประมาณ 2,975 บาท
Baby Boom เคยถูกหลอก 26.1 เปอร์เซ็นต์ ถูกหลอกสำเร็จ 26.4 เปอร์เซ็นต์ เสียเงิน ทรัพย์สินต่อคนประมาณ 4,622 บาท
เมื่อรวมผู้ถูกสำรวจ 5,699 คน พบว่า เคยโดนหลอก 48.1 เปอร์เซ็นต์ ไม่เสียหาย 57.4 เปอร์เซ็นต์ เสียหาย เสียเงิน ทรัพย์สิน 39.9 เปอร์เซ็นต์
มูลค่าคนละ 2,400 บาท
จากข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่า ผู้ที่ถูกล่อลวงนั้นมีทุกช่วงอายุถึง Gen yและx จะโดนหลอกสำเร็จมากกว่า Gen อื่นๆ แต่ Baby Boom
ก็ถูกล่อลวงข้อมูลเป็นจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้นใครๆก็สามารถตกเป็นเหยื่อของแก็งคอลเซ็นเตอร์ได้
2.ผลกระทบ
โดยที่ผลกระทบที่ได้รับ อาจเป็นการสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เลขที่บัญชี เลขที่บัตรประชาชน เพื่อใช้หาผลประโยชน์ต่างๆ
หรือ ถูกหลอกให้โอนเงินจนหมดบัญชี
3.วิธีการหลอกลวงของแก็งคอลเซ็นเตอร์
1. การใช้ผลประโชชน์เข้ามาล่อลวง มีประมาณ 7 วิธี มูลค่าความเสียหายต่อคน 1,410-11,686 บาท
1. แอบอ้างบุคคลหรือหน่วยงาน หรือมีเส้นสาย
2. หลอกลวงว่าได้รับรางวัล หรือถูกรางวัล
3. หลอกปล่อยเงินกู้นอกระบบ
4. หลอกว่าได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ
5. หลอกลวงว่ามีปัญหา หรือทำผิดกฎหมาย
6. หลอกลวงให้ลงทุนในลักษณะต่างๆ
7. หลอกลวงให้เล่นพนันโดยมีสูตรโกง
2. หลอกลวงโดยอาศัยความสัมพันธ์ หรือความสงสาร มี 3 วิธี
1. พิศวาสอาชญากรรม
2. หลอกลวงว่าญาติพี่น้อง หรือคนรู้จักกำลังเดือดร้อน
3. หลอกลวงให้บริจาคเงิน
และยังมีวิธีการล่อลวงแบบอื่นๆ เช่น
ทำให้เหยื่อตกใจ หวาดกลัว รีบเร่ง เช่น ต้องทำรายการภายในเวลาที่กำหนด หรือ ถ้าไม่ทำตามจะดำเนินคดี
ให้เหยื่อให้ข้อมูลส่วนตัวแบบไม่ทันได้ตั้งตัว เช่น หลอกถามที่อยู่ ชื่อ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาผลประโยชน์
ใช้ข้อมูลจริงบางส่วนมาอ้าง เช่น ชื่อ หรือ เลขท้ายบัตรประชาชน โดยที่เหยื่อไม่รู้ว่าเป็นข้อมูลที่สามารถหาได้
4.วิธีการรับมือ
1. ตั้งสติ ทุกครั้งก่อนรับโทรศัพท์เบอร์ที่ไม่คุ้นเคย ในบางครั้งมิจฉาชิบอาจใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเปลี่ยนแปลงเบอร์ให้เหมือนกับหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ
2. รู้เท่าทัน ควรรู้ไว้เสมอว่าสถาบันทางการเงินไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า หรือขอให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางโทรศัพท์
เพราะหน่วยงานนั้นๆจะเป็นข้อมูลของลูกค้าอยู่ในฐานข้อมูลอยู่แล้ว
3. เตรียมรับมือ หากไม่แน่ใจว่าใช่แก็งคอลเซ็นเตอร์หรือไม่ สามารถกดบันทึงเสียงการสนทนาได้จากเมนูในหน้าต่างการโทร เพื่อใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีในภายหลัง
4.สอบถามข้อมูลให้แน่ชัดว่าเรื่องที่มิจฉาชีพโทรมาเกี่ยวข้องกับตนเองหรือไม่ และค่อยๆไตร่ตรองอย่าดำเนินการใดๆ และวางสายสนทนาโดยให้แจ้งว่าจะติดต่อกลับภายหลัง
5.วิธีการเเก้ไข
หากเผลอโอนเงินหรือให้ข้อมูลสำคัญต่างไปแล้วก็มีวิธีแก้ไขดังนี้
1. รวบรวมหลักฐาน และข้อมูลสำคัญทุกอย่างที่เกี่ยวข้องไว้
2. แจ้งระงับ การโอนเงินกับสถาบันการเงินเพื่อขอความช่วยเหลือและแก้ไขเบื้องต้น
3. แจ้งเบาะแส ไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โทร 1599)
4. แจ้งความ ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
6.สรุป
ในทุกวันนี้ ที่แก็งคอลเซ็นมีจำนวนมากขึ้น และ มีวิธีการล่อลวงเหยื่อในรูปแบบใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น
แต่จงจำไว้เสมอว่าไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนๆ หากมีสติ ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว และไม่ดำเนินการตามที่มิจฉาชีพบอก แก็งคอลเซ็นเตอร์ก็ไม่สามารถเอาอะไรไปจากเราได้เราได้